มะขาม
ชื่อสามัญ Tamarind , Indian Date
มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน, ประเทศแคเมอรูน, ประเทศไนจีเรีย, ประเทศเคนยา, ประเทศแซมเบีย, และประเทศแทนซาเนียม และต่อมามีการนำเข้ามาในแถบประเทศแถบลาตินอเมริกาและประเทศเขตร้อนของเอเชีย และในปัจจุบันมีมากในประเทศเม็กซิโก
ความเชื่อและความเป็นมงคล
ต้นมะขาม เป็นต้นไม้มงคล ที่ควรปลูกในบ้าน ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้อง กันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย และด้วยชื่อ มะขาม ยังเป็นมงคลนาม ถือกันว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม
ลักษณะทั่วไปของมะขาม
ต้น
มะขาม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต จนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ
ใบ
ใบของมะขาม เป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบ แยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน
ดอก
ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตำแหน่งออกของดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงแยกจากกัน มีจำนวน 4 กลีบ มีสีชมพูอมแดง กลีบดอกจะเป็นกลีบดอกแยกกัน มีจำนวน 3 กลีบ สีเหลืองลายแดง และเกสรเพศผู้จะมีจำนวน 3 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมียจะมีจำนวน 1 อัน สีเขียว รังไข่เหนือวงกลีบ
ผล
ผลเป็นแบบผลเดี่ยว ผลแห้งจะมีฝักหักข้อ ผลอ่อนสีเขียวเทา ผลแก่มีสีน้ำตาล รูปร่างผลเป็นฝักยาว จะมีลักษณะพิเศษของผล คือ มีผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดจะมีจำนวน 3 – 12 เมล็ด สีของเมล็ดจะเป็นสีน้ำตาล รูปร่างของเมล็ดค่อนข้างกลม

ประโยชน์
มะขามใช้ทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งใบอ่อน ฝักอ่อน ฝักแก่ และเมล็ด
– มะขามเปียกที่ทำจากมะขามฝักแก่เป็นเครื่องปรุงรสเปรี้ยวที่สำคัญในอาหารไทย ทั้งแกงส้ม ต้มส้ม ไข่ลูกเขย
– ยอดและใบมะขามอ่อนนำไปยำหรือใส่ในต้มเพื่อเพิ่มรสเปรี้ยว
– ผล ใช้ทำขนมได้อีกหลายชนิด เช่น มะขามแช่อิ่ม มะขามแก้ว มะขามคลุก มะขามกวน เป็นต้น
สรรพคุณ
– แก้อาการท้องผูกถ่ายไม่ออก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–30
– แก้อาการท้องเดินกองทัพ ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1 – 2 กำมือ หรือประมาณ 15 – 30 กรัม ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
– แก้ไอขับเสมหะเสลดติดคอ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน